"โมร็อกโก คือทีมระดับท็อปของแอฟริกาในฟุตบอลโลกครั้งนั้น ผมไปกาซาบลังก้า ไปดูพวกเขาเล่นก่อน (ฟุตบอลโลก) รอบสุดท้ายมาถึง และมันเป็นประเทศที่บ้าคลั่งฟุตบอลสุดๆ"
"พวกเขาเป็นประเทศที่มีประชากร 36 ล้านคน ผมต้องทำตัวให้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิศาสตร์เพราะผมต้องหาข้ออ้างมาตอบสื่ออย่างพวกคุณไง"
นี่คือการให้สัมภาษณ์หลายปีต่อมาของ เครก บราวน์ อดีตผู้จัดการทีมชาติสก็อตแลนด์ ผู้พาทีมไปเล่นฟุตบอลโลก ฟร้องซ์ 98 ที่ฝรั่งเศส
เนื่องจากว่า เครก บราวน์ กับทัพตาร์ตัน ของเขาโดนสื่อในบ้านเกิดพาดหัวว่า "แพ้อย่างน่าอาย" ให้กับโมร็อกโก 0-3 ในฟร้องซ์ 98
ฟร้องซ์ 98 เป็นเวทีแจ้งเกิดให้นักเตะหลายคน และหลายคนที่ว่าก็คือผู้เล่นทีมชาติโมร็อกโก ด้วย
เหมือนอย่างเช่นในฟุตบอลโลก กาตาร์ 2022 ตอนนี้ที่ "สิงโตแอตลาส" โมร็อกโก สร้างประวัติศาสตร์ทะลุเข้าถึงรอบรองชนะเลิศได้อย่างยอดเยี่ยม
ตลอดเส้นทางของวงการฟุตบอลโมร็อกโก พวกเขาไม่ได้เข้าร่วมฟุตบอลโลกในช่วงแรกเพราะยังโดนฝรั่งเศสยึดเป็นเมืองขึ้น
ครั้งแรกที่โมร็อกโก ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายคือปี 1970 แล้วก็เว้นมาจนถึงปี 1986 ที่พวกเขามีพลิกล็อกเอาชนะโปรตุเกส จนได้ผ่านเข้ารอบน็อคเอาท์ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ
โมร็อกโก มาเข้ารอบสุดท้ายในปี 1994 ที่สหรัฐอเมริกา โดยที่นักเตะของพวกเขาในยุค 80s-90s ช่วงแรก เล่นในลีกภายในประเทศเป็นหลัก มีหยิบมือเดียวที่เล่นในยุโรป และไม่ได้เล่นให้ทีมใหญ่ด้วย
ผิดกับในฟร้องซ์ 98 ที่พวกเขาสร้างผลงานน่าประทับใจ จากทั้งหมด 22 คนในชุดลุยบอลโลก มีถึง 15 รายที่เล่นในยุโรป โดยมีทั้งคนที่เล่นให้ ปอร์โต้, เบนฟิก้า และ เดปอร์ติโบ ลา กอรุนญ่า ไปจนถึง แรนส์ และ 1860 มิวนิค
โมร็อกโก อยู่กลุ่มเดียวกับ บราซิล ทีมเต็ง 1 ที่นำโดย โรนัลโด้ R9 ที่พีคสุดขีด - นอร์เวย์ ของเอกิล โอลเซ่น ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของพวกเขา มี ทอเร่ อันเดร โฟล, โซลชาร์, รอนนี่ ยอห์นเซ่น, เฮนนิ่ง เบิร์ก, สตาเล่ โซลบัคเค่น, ออยวินด์ ลีออนฮาร์ดเซ่น - แล้วก็ สก็อตแลนด์ ซึ่งมีนักเตะดังหลายรายอย่าง จิม เลห์ตัน, โคลิน เฮนดรี้, เควิน กัลลาเกอร์, จอห์น คอลลินส์, พอล แลมเบิร์ต, แม็ทท์ เอลเลียตต์
เกมแรกเปิดมา บราซิล แชมป์เก่าเปิดหัวเฉือนชนะสก็อตแลนด์ 2-1 ในเกมที่ทัพตาร์ตัน ทำผลงานได้ดี สร้างความลำบากให้บราซิลไม่น้อย
ด้าน โมร็อกโก ก็ต้องเจอ นอร์เวย์ ซึ่งภาพรวมนั้น นอร์เวย์ โดนมองว่าดีกว่า ขณะที่ โมร็อกโก โดนมองที่อัตราแชมป์ 250/1 เรียกว่าแทบจะเป็นบ๊วยๆ อยู่แล้ว
แต่ก็อย่างที่ เครก บราวน์ กุนซือสก็อตแลนด์บอกในภายหลังว่าเขาได้ไปสเกาท์ โมร็อกโก มาแล้ว (ในยุคที่การหาเทปการเล่น ข้อมูล หาได้ยาก ไม่มีอินเตอร์เน็ตแพร่หลาย ไม่มีระบบวีดีโอออนไลน์ และเว็บไซต์สถิติต่างๆ)
โมร็อกโก สามารถขึ้นนำ นอร์เวย์ 2 ครั้ง 2 ครา แต่ก็โดนตีเสมอได้ จนจบเกมที่ 2-2
ชื่อของ ซาลาเฮดดีน บาสเซียร์ กองหน้านั้นรู้จักกันดีอยู่แล้ว รวมถึงปราการหลังกัปตันทีมอย่าง นูเรดดีน เนเบ็ต แต่คนที่สร้างชื่อขึ้นมาคือปีก 2 ข้าง ซึ่งจี๊ดจ๊าด จัดจ้าน ยูสเซฟ ชิปโป้ และ มุสตาฟา ฮัดจิ
ในขณะที่ยุคนั้น นักเตะเกือบทั้งหมดใส่สตั๊ดสีดำ จะมีสีแซมเยอะหน่อยคือ พรีเดเตอร์ แอคเซเลอเรเตอร์ ที่วางจำหน่ายในปีนั้น (เบ็คแฮม, เดล ปิเอโร่ และซีดาน ใส่)
ทว่าโมร็อกโก สร้างสีสันด้วยรองเท้าพูม่า สีแดง ใส่โดย มุสตาฟา ฮัดจิ และ นูเรดดีน เนย์เบ็ต และ สีเหลืองที่ใส่โดย การิบ อัมซีน
ต้องบอกว่า บราซิล นั้นคาดหมายว่าเข้ารอบแน่ๆ อีก 2 ทีมที่มีโอกาสตามเข้าไปคือ นอร์เวย์ ไม่ก็สก็อตแลนด์ ขณะที่ โมร็อกโก โดนมองเป็นแค่ตัวแปร ยากจะเข้ารอบ
เมื่อนัดที่ 2 มาถึง สก็อตแลนด์ ก็เคี้ยวนอร์เวย์ ไม่ลง เสมอกันไป 1-1 แต่ทางด้าน โมร็อกโก เจอเกมบังคับแพ้ เพราะดวลกับบราซิล
แน่นอน พวกเขาต้านไม่ไหวโดน โรนัลโด้, ริวัลโด้ และ เบเบโต้ รัวคนละเม็ด ให้บราซิลชนะ 3-0
ก่อนเกมสุดท้าย บราซิล ที่ชนะรวด 2 นัดมี 6 แต้มเต็มก็เข้ารอบไปแล้ว
โมร็อกโก มี 1 แต้ม, สก็อตแลนด์ 1 แต้ม, นอร์เวย์ 2 แต้ม
ตามทรง บราซิล น่าจะเอาชนะนอร์เวย์ได้ นั่นทำให้เกมระหว่าง โมร็อกโก กับ สก็อตแลนด์ เหมือนเป็นเกมชิงตั๋วเข้ารอบ เพราะหากใครชนะ คงจะตามบราซิลเข้าไปทันที
โมร็อกโก ทำให้ เครก บราวน์ ต้องโดนสื่อตราหน้าว่าอับอาย เพราะสก็อตแลนด์ แม้จะครองบอลเยอะกว่า พยายามหาโอกาสยิงได้มาก แต่ก็ไม่ได้มีความเฉียบคม
ผิดกับ โมร็อกโก ซึ่งมีเกมเข้าทำเร็ว สวนกลับที่น่ากลัว โดย 2 ปีกอย่าง ชิปโป้ และ มุสตาฟา ฮัดจิ
ผลคือ โมร็อกโก ถล่มสก็อตแลนด์ไป 3-0 จากการทำ 2 ประตูของ ซาลาเฮดดีน บาสเซียร์ และ อเดลจาลิล ฮัดดา อีก 1 ตุง ดับความฝันเข้ารอบของเหล่าตาร์ตันอาร์มี่เสียสนิท
น่าเสียดายนิดเดียว ตรงที่ผลอีกคู่ ดันไม่เป็นใจให้พวกเขา....
บราซิล ที่เข้ารอบไปแล้ว พวกเขาส่งสำรองลง 2-3 ราย แต่ยังมี โรนัลโด้ นำแนวรุก
อีกทั้งเกมผ่านไปเรื่อยๆ บราซิล ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบอะไร ให้เสี่ยงเหนื่อยเสี่ยงเจ็บ
น่าทึ่งตรงที่ ก่อนเกมนัดนี้ บราซิล เคยเจอกับ นอร์เวย์ มา 2 เกม ไม่เคยเอาชนะทีมไวกิ้งได้เลย ปี 1997 อุ่นเครื่องกัน บราซิล ก็โดน นอร์เวย์ ทุบไปถึง 4-2
เอกิล โอลเซ่น ขึ้นชื่อเป็นกุนซือเน้นเกมรับ บอลโบราณ อาศัยรูปร่างความแข็งแรงของนักเตะเป็นจุดเด่น เรียกว่าสร้างความลำบากให้ทีมทักษะดีมาแล้วมากมาย
นาทีที่ 78 แฟนบอลโมร็อกโก ถ้าเป็นทุกวันนี้คงทวีต และโพสต์เฟซบุค กันให้กระจุย เพราะพวกเขานำสก็อตแลนด์ 2-0 และอีกคู่ บราซิล ก็ออกนำนอร์เวย์ 1-0 จากเบเบโต้
นาทีที่ 83 นอร์เวย์ ตามตีเสมอบราซิล 1-1 จาก ทอเร่ อันเดร โฟล ซึงตอนนั้น โมร็อกโก ก็ยังเข้ารอบตามเวลาเรียลไทม์
นาทีที่ 89 เวลากำลังจะหมดอยู่แล้ว นอร์เวย์ ที่บังคับบุก ก็เปิดบอลจากด้านซ้ายเข้ามา จูเนียร์ บายาโน่ เทกตัวแย่งโขกกับ ทอเร่ อันเดร โฟล แล้วล้มลงไป ผู้ตัดสินดันเป่าเป็นจุดโทษให้ นอร์เวย์ ทันที
จากภาพช้า บายาโน่ มีเอาแขนไปเกี่ยวแขน ของ โฟล ไว้เล็กน้อย แต่มันก็ไม่ได้หนักและแรงพอที่จะทำให้ดาวยิงร่างโย่ง ล้มลงไปได้เลย แต่กล้องมุมหนึ่งจับภาพว่า บายาโน่ มีดึงเสื้อเอาไว้ด้วย
สุดท้าย เยทิล เร็คดาล สังหารจุดโทษเป็นสกอร์ 2-1 ทำให้ นอร์เวย์ คว้าชัยชนะจากบราซิล 2-1
ผลการแข่งขันนี้ เท่ากับว่า โมร็อกโก ต้องตกรอบอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่พวกเขาทำผลงานได้ดีมากๆ ดีจนได้รับคำชื่นชมเกินคาด
หลังจบฟุตบอลโลกฟร้องซ์ 98 ทำให้นักเตะโมร็อกโก ได้รับการจับตามองหลายราย
จามาล เซลลามี่ ย้ายจากทีมในบ้านเกิดไปเบซิคตัส, ลาห์เซน อับรามี่ ย้ายไปเกนเคลอร์บิลิจี ในตุรกี
อับเดลจาลิล ฮัดดา ย้ายมาเล่นในสเปนกับ สปอร์ติ้ง กิฆอน
ยุสเซฟ ชิปโป้ กับ มุสตาฟา ฮัดจิ ก็ย้ายมาเป็น Cult Hero ให้กับโคเวนทรี ในพรีเมียร์ ลีก อังกฤษ
นั่นคือเรื่องราวของทีมชาติโมร็อกโก ในครั้งสุดท้ายจริงๆ ที่พวกเขาสร้างผลงานในฟุตบอลโลกให้คนได้ตื่นตาตื่นใจกับผลงานของพวกเขา แม้มันจะไปไม่ได้ไกลเท่ากับรุ่นน้องของพวกเขา ที่กำลังทำให้เห็นอยู่ในฟุตบอลโลกครั้งนี้ก็ตาม
เว็บกีฬาที่ดีกว่า ชัวร์กว่า ครบเครื่องเรื่องเดิมพันกว่าทุกเว็บ โปรโมชั่นดีๆ ต้องที่ MYSBOBET เพิ่มเพื่อนกันไปได้เลยที่ https://line.me/R/ti/p/@my-sb99 หรือ 08-0003-1188 / 08-0003-117